อัพเดทเมื่อ : 2021-02-23 06:26:07
เพลี้ยกระโดดท้องขาว ศัตรูข้าวโพดตัวใหม่
ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลอ่อน ปีกค่อนข้างใส เพศเมียจะมีลักษณะของไข หรือขี้ผึ้งสีขาวเคลือบอยู่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เพลี้ยกระโดดท้องขาว” (White-Bellied Planthopper)
วงจรชีวิต
เพศเมียใช้อวัยวะวางไข่ แทงทะลุเนื้อเยื่อพืชเพื่อวางไข่ บริเวณเส้นกลางใบและกาบใบ จากนั้น เพศเมียจะทำการขับสารที่มีลักษณะคล้ายไขขี้ผึ้งสีขาวปกคลุมไข่ เพื่อป้องกันอันตราย
ลักษณะการทำลาย
1. ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและกาบใบ
2. ใบข้าวโพดไหม้ และทำให้เกิดราดำ จากการขับมูลหวาน พืชสังเคราะห์แสงได้ลดน้อยลง
3. ทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลงถึง 52.2% ฝักข้าวโพดลีบเล็ก เมล็ดมีน้ำหนักน้อย เปราะและแตกหัก ได้ง่ายเมื่อนำไปเข้าเครื่องกะเทาะเมล็ด
การป้องกันและกำจัด
หากพบปุยสีขาวคล้ายขึ้ผึ้งเกาะอยู่บริเวณเส้นกลางใบหรือกาบใบ แสดงว่าเริ่มมีการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดท้องขาว หากพบการระบาดรุนแรงให้เลือกใช้สารกำจัดแมลงดังนี้
เพลนั่มสูตรปราบเพลี้ย 3 พลังล็อค ห้ามกิน ห้ามเกาะ ห้ามวางไข่ เพลี้ยร่วงเร็ว